ดอลลาร์อ่อนค่า หลังเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาด พร้อมปรับคาดการณ์ GDP ปีนี้ลง
admin - March 19, 2022ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565
ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/3) ที่ระดับ 33.36/38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (16/3) ที่ระดับ 33.44/46 บาท ดอลลาร์อ่อนค่าหลังคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2561
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 6 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ ครั้งละ 0.25% ซึ่งหมายความว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมทุกครั้งหลังจากนี้ และจะทำให้อัตราดอกเบี้ยะระสั้นไปอยู่ที่ระดับ 1.75-2.00% ในปลายปีนี้
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปี 2566 แต่จะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2567 นอกจากนี้เฟดยังส่งสัญญาณปรับลดขนาดงบดุลในการประชุมในอนาคต โดยงบดุลดังกล่าวประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) มูลค่ารวมเกือบ 9 ล้านล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตามแถลงการณ์ของเฟดระบุว่า สงครามในยูเครนและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งในระยะใกล้ ปัจจัยดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ และเป็นปัจจัยถ่วงเศรษฐกิจ แต่การปรับขึ้นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสมในการสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
ขณะเดียวกันเฟดได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ สู่ระดับ 2.8% จากเดิมที่ระดับ 4.0% และคงตัวเลขคาดการณ์ในปี 2566-67 ที่ระดับ 2.2% และ 2.0% ตามลำดับ ขณะที่คงตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวในระยะยาวที่ระดับ 1.8% ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.20-33.34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.5/28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้านี้ (17/3) ที่ระดับ 1.1033/35 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (16/3) ที่ระดับ 1.0981/83 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยยูโรแข็งค่าตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ความไม่แน่นอนของสงครามรัสเซีย-ยูเครนยังคงเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ค่าเงินยูโรผันผวนได้ในอนาคต ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1009-1.1067 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1042/44 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/3) ที่ระดับ 118.77/79 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (16.3) ที่ระดับ 118.30/32 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นยังไม่มีแนวโน้มที่จะเห็นอัตราเงินเฟ้อแตะระดับเป้าหมาย ของ BOJ ที่ระดับ 2% แม้ราคาพลังงานจะพุ่งขึ้นก็ตาม
ซึ่งจะทำให้ BOJ ยังคงต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อไป การแถลงของนายคุโรดะตอกย้ำถึงมุมมองด้านนโยบายการเงินที่ต่างกันอย่างมากระหว่าง BOJ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี รวมถึงประกาศแผนปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 118.60-119.03 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 118.66/68 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีค้าปลีกสหรัฐเดือน มี.คง (17/3), อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด (17/3), ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐเดือน ก.พ. (18/3)
สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -0.9/0.6 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -0.15/+1.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ
อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance
Archives
Calendar
M | T | W | T | F | S | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |